9/23/2552

เติมฟรี !!!


ความคิดที่จะเติมพลังให้กับรถไฟฟ้าที่วิ่งอยู่นั้น


เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป ในแทบจะทันทีที่


ทราบถึงข้อจำกัดของระยะทางการวิ่ง



ส่วนใหญ่มักจะพุ่งไปที่ล้อ รองลงมาก็กังหันลม


และสำหรับเหล่ามืออาชีพ ก็จะยกเรื่องการปั่นไฟ


กลับเข้าแบต เมื่อเบรค หรือยกเท้าออกจากคันเร่ง


- Regenerative Braking





ต้องยอมรับว่า มันเป็นจุดขายที่ดีมากๆ


อีกทั้ง เป็นการตอบ/หยุดข้อสงสัยด้วยความหวัง(อันเรืองรอง)


ซึ่งไม่ต่างไปจากสิ่งที่เราเจอกันตามสื่อต่างๆ รอบตัวเรา


ภาพพ่อแม่ลูกอยู่ที่ห้าง รูดบัตรเครดิตซื้อของ


แล้วเหรียญทองกองเต็มตัว ยิ่งซื้อ ยิ่งรวย ยิ่งรูด ยิ่งคุ้ม



สำหรับกรณีนี้ มันคือ รถยิ่งวิ่ง ยิ่งมีพลังงาน!!!!





มันเป็นเรื่องของการตีความล้วนๆ ครับ


คำว่ารวย เราจะหมายถึง อะไรดี...มีเงินเพิ่มในบัญชี


หรือได้เงินคืนมาสองสามบาท จากพัน!!!





สำหรับรถไฟฟ้านั้น ถ้าได้ลองหาอ่านอะไรที่มากกว่า


ข่าวตัด-ปะตามหน้าหนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ


มีคนที่ให้คำตอบเรื่องพวกนี้ไว้อย่างชัดเจนอยู่มากมาย


เช่น มอเตอร์หมุนด้วยความเร็วเป็นพันรอบ/นาที แต่มา


ถึงล้อ - ช่วงที่คนมักจะคิดติดไดนาโมปั่นไฟแถวๆ นั้น


ซึ่งเหลือเพียงไม่กี่ร้อยรอบ/นาที มันพอปั่นไฟได้....


แต่ไม่เข้าแบตเตอรี่แน่นอน -> สร้างระบบเก็บไฟส่วนนี้ไว้ใช้


-> ดำเนินเรื่องติดตั้งเครื่องรูดบัตรเครดิตให้ร้านก๊วยเตี๊ยว


-> เมื่อได้ไฟพอ ต้องมีระบบชาร์จกลับแบตเตอรี่


-> เจรจาธนาคารเจ้าของบัตรให้รับร้านนี้เข้าโครงการณ์


พันนึงได้คืนสามบาท กินปีนึง ทุกวัน....หมื่นนึง ได้ฟรีชามนึง




กังหันลมอันที่พอปั่นไฟใช้ชาร์จได้ ถ้าเอามาติดรถ


มอเตอร์ไซค์ต้องหัวขาดกันเป็นพันๆ ศพ ไม่นับเรื่อง


Drag ของลมที่จะกินไฟมหาศาลในการเคลื่อนตัวรถ


ผมเองก็เพิ่งรู้ว่า Aerodynamics มันไม่ใช่แค่่หน้าแหลมๆ


แหวกลม ลู่ลม การออกแบบด้านท้าย ซุ้มล้อ แผ่นปิดล้อ


ใต้ท้องรถ มีผลอย่างละ 5-10-15 % ได้สบายๆ





มันมีอะไรให้ทำอีกเยอะที่จะยืดระยะทางการวิ่ง


ฟังดูแล้วจะไม่ยิ่งใหญ่เท่าปั่นไฟขึ้นมาใหม่ แต่ได้ผลดี


เช่น เรื่องของยางที่ใช้

1 ความคิดเห็น:

  1. ผมขอไม่พูดถึงกฏของพลังงาน The Conservation of Energy นะครับ เพราะอยากให้ตรงนี้พื้นๆ ที่สุด แต่หาอ่านได้ไม่ยากครับ มันคือ หัวข้อ Hot Hits ของทุกเว็บ EV ครับ

    ตอบลบ