9/17/2552

พัก - ฝนมาแต่เช้าเลย


ว่าจะรีบลุยต่อ ปรากฏว่าฝนเทมาโครมๆๆ เลย
ไม่เป็นไร....ผมมาเขียนเรื่องแบตเตอรี่ก็ได้

อย่างที่ผมได้บอกไว้แล้วนะครับ....แบตตะกั่วธรรมดาๆ
นี่แหละครับที่เราพอจะมีปัญญาจ่ายไหว
ใครจะเอาแบตลิเธียม หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มีขั้วบวกลบ
มาต่อใช้กับรถไฟฟ้าก็ได้ทั้งนั้นนะครับ เอามาต่อ
กันในแบบอนุกรม ( Series ) บวกไปลบของอีกก้อน
ลบก็ไปบวกของอีกก้อน ต่อแบบนี้แบต 6v. แปดลูกก็ใช้ขับ
มอเตอร์ 48v. ได้ เอาถ่านไฟฉาย AA 1.5v. มาต่อกัน
สามสิบสองก้อนก็ขับมอเตอร์ลูกนี้ได้เช่นกัน....แต่ แต่ แต่
มอเตอร์จะวิ่งได้กระจึ๋งนึง เพราะถ่านไฟฉายมันมีประจุนิ๊ดดดเดียว
แบตที่ใช้มีประจุ 225 แอมป์ -???โดยวัดกันที่ 20 ชั่วโมง????(หุ หุ...ตอนหน้า)
ถ้าอยากให้รถไฟฟ้าคันนี้วิ่งโดยใช้ถ่านไฟฉาย หรือแบตมือถือ แบตโน๊ตบุ๊ค ฯลฯ
เอาตรงโวลท์ให้ผ่านก่อน....ซึ่งก็ผ่านแล้ว 1.5 x 32 ได้ 48
มาจัดการตรงแอมป์บ้าง......ถ่านไฟฉาย AA มีประจุ 2.4 แอมป์
ร้อยก้อนได้ 240 แอมป์ ถ้าเอา 225 แอมป์ ก็ต้องร้อยก้อนอยู่ดีครับ
เผื่อสูญเสียด้วย และคิดกันง่ายๆ วิธีต่อเพิ่มแอมป์ คือ
บวกไปบวกอีกก้อน ลบก็ไปลบของอีกก้อน
เขาเรียกว่าต่อแบบขนาน (Pararelle)

1.5v. ที่มี 225 แอมป์ = ถ่านไฟฉาย 100 ก้อน
(คูณ4) 1.5 x 4 = 100 x 4
แบต 6v. 225 Amp = ถ่านไฟฉาย 400 ก้อน
ใช้แบต 8 ลูก = ถ่านไฟฉาย AA 3,200 ก้อน

แบตจำพวกลิเธียม นิคเกิ้ล_แคดเมียม พวกนี้มีน้ำหนักเบา
และปล่อยพลังได้ลึกกว่า 80% ของ Deep cycle

คงพอเห็นภาพนะครับ แต่เหมาะสมแค่ไหน
ก็คงแล้วแต่บุคคล ตามกำลัง ตามฐานะ
.....หรือว่า ลูกบ้า!!!

ขอค้างเรื่อง c 20 - Capacity at 20 hr. ไว้ตอนหน้านะครับ
มันเป็นตัวเลขที่บอกถึงการทำงานของแบตลูกนั้นๆ ครับ
รู้ไว้เพื่อไม่งงครับ เผื่อไปหาอะไรอ่านที่เว็บเมืองนอก
จะเจอบ่อยๆ ในหลายกระทู้เลยครับ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น