9/14/2552

3 เครื่อง!



ภาพบนคือห้องเครื่องของรถผม
ลาขาดเรื่องความร้อน ควันไอเสีย
อะไหล่ชิ้นส่วนหายไปจากรถเป็นร้อยๆ ชิ้นเห็นจะได้

ประโยชน์ข้อแรกที่เห็นชัดของรถไฟฟ้า
คือ การทำงานอันเรียบง่าย
มีจุดตรวจซ่อมเพียงไม่กี่จุด
มอเตอร์มีปัญหาอะไรหนักๆ ก็อุ้มไปร้านไดแค่นั้นเองครับ
มันไม่มีเรื่องยี่ห้อเหมือนเครื่องรถยนต์
อะไหล่ก็พวกลวดทองแดง แปรงถ่าน แม่เหล็ก เหมือนๆ กันทุกยี่ห้อ
ช่างพันไดเมืองไทยทั่วไปพอทำได้ครับ
การติดตั้งก็ถอดเครื่องออก เอามอเตอร์เสียบต่อเข้ากับเกียร์ให้ได้ แค่นั้นแหละครับ
ดูภาพรวมกันไปก่อนนะครับ
รายละเอียดเดี๊ยวทยอยลงให้หมด ไม่ต้องห่วงครับ ทั้งแหล่งที่ซื้อ -วิธีการต่อ

ลองไปดูของ
เมืองนอกกันก่อนนะครับว่าเขาทำยังไงกันบ้าง
ที่นั่นเค้าจะขายเป็นชุดๆ จัดมาให้เลย
ใครอยากจัดชุดเองก็ไป
ที่นี่ครับ
ตัวที่สำคัญจะมีอยู่สองตัว คือ มอเตอร์ และก็กล่อง ECU ที่จะเรียกกันว่า
Controller ครับ
ในชุด
kits เหล่านั้น พวกที่เหลือก็มีเกจ์ต่างๆ ขั้วแบต สายไฟ ของกระจุกกระจิก
แต่ยังพอหาได้ในไทย มีอีกตัวหนึ่งซึ่งเมืองไทยไม่มี จากในภาพมันอยู่ตรงกลาง อยู่ใต้ Controller กล่องสีฟ้า มันเรียกว่า
Pot box ครับ
เป็นตัวที่แปลค่าแรงเหยียบคันเร่งให้เป็นค่าไฟฟ้า
มีหลายชื่อครับทั้ง Throttle control และ Potentiometer
เมืองไทยไม่น่ามี คงต้องซื้อจากนอกมาใช้


ผมสู้ราคาของฝรั่งไม่ไหว ผมเลยหันไปลองของ
เมืองจีนยกชุด
มาทั้ง มอเตอร์(DL 48) controller คันเร่งไฟฟ้า Reversing contactor
ไม่รวมค่าขนส่ง ทั้งหมดเกือบๆ สี่หมื่นบาทครับ
แบต+เครื่องชาร์จเอาของเมืองไทยครับ
อีกสี่หมื่นกว่าๆ ค่าแรงช่างไม่หนักเลย หลักร้อย หลักพันต้นๆ ทั้งนั้นครับ
ทั้งหมดน่าจะจบภายในงบหนึ่งแสนบาท

3 ความคิดเห็น:

  1. ผมมีรถเต่ารุ่น 1960 สนใจทำเป็นรถไฟฟ้าครับ กำลังหาข้อมูลอยู่ มาพบ blog ของท่านซึ่งน่าสนใจมากๆ ครับ จะรบกวนขอข้อมูลเพิ่ม หรือคำแนะนำในเรื่องนี้ด้วยครับ
    จาก อ.อภินันท์ พงศ์เมธากุล
    "APINANT Phongmethakul" <090512@gmail.com>

    ตอบลบ
  2. ครับวันนี้กำลังทำ 1 ครันครับ สนใจข้อมลู ติดต่อได้ครับ

    ตอบลบ
  3. หาข้อมูลอยู่ครับ รอพออายุ 60 ออกจากราชการก่อน จะทำโรงรถเล็กๆ แล้วลองทำกับพ่อคงจะสนุกดี

    ตอบลบ