9/30/2552
ล้อ-ยาง
ี้ลองดูภาพประกอบทางด้านบนนะครับ มันเป็นยางแบบใหม่
ที่ไม่ต้องเติมลม ตัดปัญหาเรื่องการรั่วออกไปได้อย่างสิ้นเชิง
หน้าที่สำคัญของลมภายในยางนั้น คือ ให้ความนิ่มนวลแก่การขับขี่
ส่วนปัจจัยที่ทำให้รถเคลื่อนที่ได้ดี ออกตัวได้อย่างสวยงามนั้น
คือ ความกลมของยาง .... นึกภาพจักรยานที่ไม่ได้เติมลมมานาน
เราจะสามารถรู้สึกได้ทันทีถึงแรงอีกมหาศาลที่ต้องถีบไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะถึงร้านเติมลม .... ทันทีที่แรงดันลมภายในล้อสูงพอที่จะ
ดันเนื้อยางให้เป่งออกในทุกทิศทางจนเป็นทรงกลม เราต่างก็
ทราบกันดีว่าจักรยานจะ "เบา" ขึ้นเยอะ ไม่ว่าจะเป็นน่องของเรา
มอเตอร์ไฟฟ้า หรือว่าเครื่องยนต์ ต่างก็สามารถสัมผัสถึงความ
"เบา" ที่ว่านี้ได้ทั้งสิ้น .....
.......ความกลม คือ หัวใจสำคัญของล้อ ยิ่งกลม ก็ยิ่งกลิ้งง่าย
ล้อไม้ของเกวียน ล้อเหล็กบนรางรถไฟ ล้อพลาสติกของเก้าอี้ทำงาน ของเหล่านี้สามารถผ่อนแรง ในการเคลื่อนที่ได้มากกว่ายางแบบเติมลม
แน่ใจได้เลยว่า ล้อเหล่านี้จะคงความกลมจนเสี้ยววินาทีสุดท้ายก่อนหัก-แตก
การเลือกใช้ยางที่เหมาะสม วัสดุพื้นผิวถนน และแรงดันลมของยาง
สามสิ่งนี้มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างตัดไม่ขาด และเราจะใช้
ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ได้ยังไง ขอยกยอดไปหัวข้อหน้านะครับ
พัก - Autobild Report
ผมไปเจอ articles อันหนึ่งใน AutoBild ฉบับที่เห็นอยู๋นี้
เป็นเรื่องราวของรถไฟฟ้า ซึ่งผมเคยอ่านเจอมาบ้างแล้ว
แต่ในหนนี้ มีภาพประกอบ และ Keyword ต่างๆ ดีมาก
มันเป็นการทดสอบรถไฟฟ้าปี 1904 คันนี้เลยครับ
อายุ 105 ปี สภาพดีเยี่ยม มอเตอร์ขนาด 4 แรงม้า
Top speed ที่ไม่เกิน 50 km/h ความเร็วเฉลี่ยได้ที่
32 km/h ระยะทางที่วิ่งได้ตกประมาณ 40-65 km
เวลาที่รถวิ่งได้ ก่อนจะชาร์จอีก คือ ไม่เกินสองชั่วโมง
ตัวเลขต่างๆ ใกล้เคียงกันมาก เมื่อเทียบกับรถของผม
ข้อมูลด้านน้ำหนักตัวรถ จาก Wiki ก็ใกล้เคียงกัน
น้ำหนักตัวรถรุ่นที่นั่งเดี่ยว อยู่ที่ 540 kg. ความเร็ว
สูงสุดในสมัยนั้น ตัวเลขอยู่แค่ที่ยี่สิบกว่าๆ เท่านั้นเอง
อาจมาจากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่า แบตเตอรี่ ยางที่ใช้
ชุด controller ที่ควบคุมการจ่ายไฟ .....
สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการวิ่งของรถทั้งสิ้น
ระบบตรวจเช็คลมยางโดยอัตโนมัติ
กำลังจะเป็นกฏหมาย หาใช่เพียงออปชั่น
อีกต่อไป น้อยสุดก็ในยุโรป
ยิ่งไปกว่านั้น ยางที่ให้ระยะหยุดนิ่งสนิท
ที่ยาวขึ้น!!! แต่ช่วยประหยัดพลังงานได้ 3%
ก็จะเป็นภาคบังคับอีกเช่นกันในยุโรป
....ข้อมูลจาก AutoBild เหมือนกัน แต่จำเล่มไม่ได้
เรื่องไฟฟ้า ผมไม่รู้เรื่อง ไปไม่ถูก
เรื่องยาง ก็ไม่รู้เรื่อง แต่พอคลำทางได้
Rolling Resistance ครับ...วันหลังจะมาคุยกัน
เป็นเรื่องที่ต้องคุยกันอย่างแน่นอน
ผมออกแบบการทดลองไว้แล้ว
รถเสร็จเมื่อไหร่ ก็จะมาเรื่องนี้แหละครับ
วันนี้ ถ้าว่างก็ลองแวะไปหาอ่านดูนะครับ
อ่านแล้วก็อาจมีกำลังใจดีขึ้น
รถไฟฟ้านั้น จริงๆ แล้ว มันมีมานาน
แล้วก็ไม่ได้ไฮเทคอะไรมากมายนัก
เครื่องไม้ เครื่องมือขนาดเมื่อร้อยกว่าปี
ที่แล้วยังเอาอยู่เลยครับ...ซู่ ซู่ :)
ี้
9/29/2552
พัก - รวยแสร่ด
สี่ห้าปีก่อน มันเป็นเสียงหัวเราะเยาะจากทั่วโลก
ไม่ว่าจะเป็นตัวรถ หรือแนวทางการออกแบบ
แต่เขาเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่ใหญ่สุดๆ ในโลก
ตอนนี้ คนละเรื่องแล้วครับ จาก 102 มาเป็นที่ 1 เลย
ข้ามหัวมหาเศรษฐีจีนทีเดียวหนึ่งร้อยกว่าคน!!!!
ผมไม่เคยเล่นหุ้น ไม่ทราบอะไรเกี่ยวกับหุ้นเลย
แต่พอรู้ว่าวิสัยทัศน์ของคุณ Warren Buffet นี้
คนเขาลือ และยกย่องกันครึ่งค่อนโลก
ไม่ว่าในทางธุรกิจ หรือชีวิตส่วนตัว
ขับรถเก่าที่ผลิตในประเทศ บ้านหลังเดิมๆ ที่เคยอยู่
เทียบกับเม็ดเงินที่ทำได้ในแต่ละปี
ไม่รู้เหมือนกันนะครับ ผมคิดว่านี่เป็นนัยยะสำคัญ
ที่บ่งบอกว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆ อย่าง
ในวงการรถยนต์
เมื่อหัวใจสำคัญ มันไม่ใช่เครื่องยนต์อีกต่อไป
หน้าใหม่ๆ ก็กระโดดเข้ามาเล่นได้ง่ายขึ้น
ไฮบริดน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของวงการรถยนต์
ก่อนก้าวเข้าสู่ระบบไฟฟ้าอย่างเต็มตัว
ทั้งนี้ ทั้งนั้นแบตเตอรี่ คือ สิ่งสำคัญที่สุด
ที่กุมชะตาของรถไฟฟ้าเอาไว้
ก็ต้องดูกันไป ระหว่างนี้ก็แบตตะกั่ว Deep cycle
ไปก่อน ราคาซื้อหาได้สบายๆ ไม่ต้องกังวลเรื่อง
สารพิษด้วย เมืองไทยรีไซเคิลเองได้ตั้งแต่ต้นยันจบ
ลิเธียม นิคเกิ้ล แคดเมียม....พวกนี้แพงกว่า เบากว่า
แต่ไม่ได้สะอาดกว่านะครับ ใช้ตะกั่วได้อย่างสบายใจ
วันไหนพวกนี้ถูกจริงๆ จะเปลี่ยนไปใช้ตอนไหนก็ได้ครับ
เสริมข้อมูล (Oct 4,09) เพิ่งเจอครับ
9/28/2552
ทดลองขับ
9/24/2552
ไทยบิด???
9/23/2552
Solar cells
ผมว่าจะละตรงส่วนนี้ไว้ มาดูการทำงานของมัน
แล้วค่อยตัดสินว่าคุ้มหรือไม่นะครับ....
ระบบ Solar cells แพงจริงๆ ครับ และยิ่งถ้าต้องการ
ใช้ให้เป็นเรื่อง เป็นราว มันก็จะยิ่งแพงขึ้นไปอีก
ผมเชื่อว่าคนที่สนับสนุนแนวคิดพลังงานสะอาด
อย่างพลังงานลม และแสงอาทิตย์นั้น....
เชื่อเถอะว่า กว่า 99% จะถอดใจ เมื่อเห็นราคา....
มิฉะนั้น เราคงเห็นเป็นแผง Solar cells เต็มพรึ่ด
ไปหมด แทนที่จะเห็นเป็นการเรียกร้อง(ให้คนอื่นติด)
อย่างในทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีของมันนั้นเรียบง่ายมากๆ
อาศัยการต่ออุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้น และทักษะในการคำนวณ
เรื่องสายไฟที่จะใช้อีกสักหน่อยเท่านั้นเอง
ก้าวแรกของเทคโนโลยี Solar cells ที่ย่างกราย
เข้ามาในชายคาของคนทั่วๆ ไป คงไม่พ้น
หิ่งห้อยยักษ์จากเมืองจีนที่อยู่ตามสนามหญ้า
ระยะที่ยังไม่ฟักตัว มันจะดูเหมือนโคมไฟสนามทั่วไป
แต่ไม่นานนัก มันก็จะกลายเป็นหิ่งห้อยให้ได้ชมกัน
55555 ไม่ว่ากัน มันก็อันละไม่กี่ร้อยบาท
ตัวถัดมาน่าสนใจกว่าเยอะ เป็นหนึ่ง Industry ด้วย
ตัวของมันเองได้เลย มันคือ ปั๊มน้ำสำหรับกลางแจ้ง
ทำน้ำพุ หรือบ่อปลาได่ง่ายๆ โดยไม่ต้องโยงไฟใดๆ
ราคาเป็นหมื่นๆ แต่ความนิยมก็เพิ่มขึ้นโดยตลอด
ผมไม่คิดว่าอะไรจะไปชนะความสะดวก สบายได้
ทำใจสบายๆ แล้วนึกดูว่า ถ้าคุณเอาไฟฟ้าติดตัวไปได้
คุณจะเอามันไปใช้กับอะไร ใช้ที่ไหน ใช้เมื่อไร....
ราคา Solar cells ที่พอจะขับเคลื่อนมอเตอร์ไซค์ได้สักคัน
อาจจะมากกว่ารถมือสอง-แก๊สแล้ว เสียด้วยซ้ำไป
แม้แต่รถไฟฟ้า 50% + Solar 50% ก็ยังหืดจับ
30 + 30 + 40 อย่างนี้พอไหว....
ผมเลยได้ระบบ Tri-brid ขึ้นมา ดูภาพในหัวข้อถัดไปครับ
ขำๆ เพลินๆ นะครับ "เท้ค-นิก-หลี" แล้ว มันก็จะทำงานคล้ายๆ กับ
ตัวละล้านหกที่กำลังโด่งดัง ตัวนั้นสมองกล ตัวนี้สมองคน
ขับสนุกดี ช่วงล่างเป็นระบบอิสระ มันส์ไปอีกแบบ....
ตอนยังไม่แยกเพลา เลี้ยวแล้วล้อยกได้ด้วย
คว่ำคะมำ นับครั้งไม่ถ้วน แต่มันส์กว่า ATV เชื่อสิ
แรงบันดาลใจผมมาจาก the psyche trike
หาดูใน YouTube ครับ เพลงประกอบ here ไปหน่อย
แต่ก็เร้าใจดี
เติมฟรี !!!
ความคิดที่จะเติมพลังให้กับรถไฟฟ้าที่วิ่งอยู่นั้น
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป ในแทบจะทันทีที่
ทราบถึงข้อจำกัดของระยะทางการวิ่ง
ส่วนใหญ่มักจะพุ่งไปที่ล้อ รองลงมาก็กังหันลม
และสำหรับเหล่ามืออาชีพ ก็จะยกเรื่องการปั่นไฟ
กลับเข้าแบต เมื่อเบรค หรือยกเท้าออกจากคันเร่ง
- Regenerative Braking
ต้องยอมรับว่า มันเป็นจุดขายที่ดีมากๆ
อีกทั้ง เป็นการตอบ/หยุดข้อสงสัยด้วยความหวัง(อันเรืองรอง)
ซึ่งไม่ต่างไปจากสิ่งที่เราเจอกันตามสื่อต่างๆ รอบตัวเรา
ภาพพ่อแม่ลูกอยู่ที่ห้าง รูดบัตรเครดิตซื้อของ
แล้วเหรียญทองกองเต็มตัว ยิ่งซื้อ ยิ่งรวย ยิ่งรูด ยิ่งคุ้ม
สำหรับกรณีนี้ มันคือ รถยิ่งวิ่ง ยิ่งมีพลังงาน!!!!
มันเป็นเรื่องของการตีความล้วนๆ ครับ
คำว่ารวย เราจะหมายถึง อะไรดี...มีเงินเพิ่มในบัญชี
หรือได้เงินคืนมาสองสามบาท จากพัน!!!
สำหรับรถไฟฟ้านั้น ถ้าได้ลองหาอ่านอะไรที่มากกว่า
ข่าวตัด-ปะตามหน้าหนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ
มีคนที่ให้คำตอบเรื่องพวกนี้ไว้อย่างชัดเจนอยู่มากมาย
เช่น มอเตอร์หมุนด้วยความเร็วเป็นพันรอบ/นาที แต่มา
ถึงล้อ - ช่วงที่คนมักจะคิดติดไดนาโมปั่นไฟแถวๆ นั้น
ซึ่งเหลือเพียงไม่กี่ร้อยรอบ/นาที มันพอปั่นไฟได้....
แต่ไม่เข้าแบตเตอรี่แน่นอน -> สร้างระบบเก็บไฟส่วนนี้ไว้ใช้
-> ดำเนินเรื่องติดตั้งเครื่องรูดบัตรเครดิตให้ร้านก๊วยเตี๊ยว
-> เมื่อได้ไฟพอ ต้องมีระบบชาร์จกลับแบตเตอรี่
-> เจรจาธนาคารเจ้าของบัตรให้รับร้านนี้เข้าโครงการณ์
พันนึงได้คืนสามบาท กินปีนึง ทุกวัน....หมื่นนึง ได้ฟรีชามนึง
กังหันลมอันที่พอปั่นไฟใช้ชาร์จได้ ถ้าเอามาติดรถ
มอเตอร์ไซค์ต้องหัวขาดกันเป็นพันๆ ศพ ไม่นับเรื่อง
Drag ของลมที่จะกินไฟมหาศาลในการเคลื่อนตัวรถ
ผมเองก็เพิ่งรู้ว่า Aerodynamics มันไม่ใช่แค่่หน้าแหลมๆ
แหวกลม ลู่ลม การออกแบบด้านท้าย ซุ้มล้อ แผ่นปิดล้อ
ใต้ท้องรถ มีผลอย่างละ 5-10-15 % ได้สบายๆ
มันมีอะไรให้ทำอีกเยอะที่จะยืดระยะทางการวิ่ง
ฟังดูแล้วจะไม่ยิ่งใหญ่เท่าปั่นไฟขึ้นมาใหม่ แต่ได้ผลดี
เช่น เรื่องของยางที่ใช้
9/22/2552
มีหวัง มีพลังเสมอ
คือ เรื่องของความ Reliability ไม่ค่อยมีอะไรให้ซ่อม
เราพอมองเห็นกันได้อยู่นะครับ อะไหล่หายไปเป็นร้อยๆ ชิ้น
เหลือก็เท่าที่เห็น พวกระบบเบรค ช่วงล่าง เกียร์ พวงมาลัย....
ตัดปัญหาเรื่องการบำรุงรักษาไปได้มากเลยทีเดียว
(แต่ก็โดนเกียร์เข้าจนได้ สิบห้านาทีแรกด้วยซ้ำ)
ส่วนความยุ่งยากนั้น ผมเชื่อว่าจะมีกันทุกคนในตอนแรก
คงคล้ายๆ กับตอนที่เราเปลี่ยนจาก vcd เป็น dvd
มันต้องการความเข้าใจ อาศัยความคุ้นเคยสักระยะหนึ่ง
หลังจากนั้น ก็จะมีเพียงแค่การเสียบปลั๊ก และเติมน้ำกลั่น
ไปจนตลอดช่วงอายุการใช้งาน
การดัดแปลงรถให้เป็นระบบไฟฟ้าแบบที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้
เป็นการเลี้ยว 180 องศา หันหลังให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์
ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มทุนที่ทรงพลังที่สุดในโลกอย่างหนึ่ง มีพร้อม
ทั้งพลังทางการเมือง การเงิน และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย
มีกองทัพขนาดมหึมา ที่เต็มไปด้วยหัวกะทิในทุกแขนงสาขา
ทั้งวิศวกรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม หัตถกรรม ประติมากรรม
ไปจนถึง การตลาด การประชาสัมพันธ์ ลูกค้าสัมพันธ์.....
มีการลงทุนเรื่องละเป็นหมื่นพันล้านในทุกหัวข้อที่ผมยกขึ้นมา
ในขณะที่รถพลังไฟฟ้าแบบ DIY นั้น
เราพอจะอาศัย 'net ให้เป็นเครื่องมือได้
แต่ไม่มีทางที่เราจะสามารถสร้างรถพลังไฟฟ้าให้เท่าเทียม
หรือแม้แต่เทียบเคียงกับสิ่งที่รถในปัจจุบันนี้ทำได้
ไม่มีเรื่องระบบเบรค ABS Airbag Power-Assisted ต่างๆ
อาจจะแม้แต่ แอร์ ด้วยซ้ำไป 55555
แต่ถ้าหาก 0 ถึง 100 ใน 10 วินาที มิใช่เป้าหมาย
บ้าน ถึง ที่ทำงาน ภายใน 10 บาท...ต่างหาก ที่ต้องการ
รถพลังไฟฟ้า DIY เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ
ภายใต้การทำงานที่เรียบง่าย....
ไม่กล้าที่จะเรียกว่า 'เทคโนโลยี' เสียด้วยซ้ำไป
เลือกที่จะสู้ด้วยอาวุธที่คุณมี เลือกที่จะสร้างในสิ่งที่คุณทำ(เอง)ได้
ผมขอฝากที่นี่ และหนังสือเล่มนี้ด้วยนะครับ
.....มีหวัง มีพลังเสมอ......
หนังสือเล่มเล็กๆ ราคาประหยัด ที่จะบันทึกข้อมูล
จิปาถะ ของการสร้างรถพลังไฟฟ้าขึ้นมาสักคันหนึ่ง
ทั้งจากที่ผมพบด้วยตัวเอง และจากที่เจอใน'net
อีกสักระยะนะครับ ยังไงก็ขอฝากผลงานชิ้นนี้ด้วยนะครับ
ค่าน้ำมัน!!!
เราก็ต้องรู้ก่อนว่ามันใช้ไฟไปขนาดไหน
ไฟอยู่ในแบต...ถ้าเต็ม 100%
แบต 12v. จะอ่านได้ 12.7 v.
ดูที่นี่ได้ครับ
ดับเครื่องสนิทสักครึ่งชั่วโมงแล้วเราค่อยวัดแบตนะครับ
หรือนานกว่านั้นได้ ก็จะยิ่งดีครับ
วัดด้วยโวล์ทมิเตอร์ เราจะทราบว่าใช้ไฟไป
กี่เปอร์เซนต์
100 % ไม่ใช่ 225 แอมป์ที่พิมพ์อยู่บนแบต
เราขับรถไฟฟ้าไม่ค่อยเกินชั่วโมง
เราต้องใช้ค่า C1 คือ ค่าที่แบตปล่อยประจุแอมป์ได้ใน 1 ชั่วโมง
ประมาณกันว่าอยู่ที่ 55% ของค่า C20 ที่พิมพ์อยู่บนตัวแบต
ถ้าผมวัดได้ 12.5v. ของแบต 225 แอมป์ที่พิมพ์แสดงอยู่
หมายความว่า ผมใช้ไฟไป 25% ของ 124 แอมป์
( 225 * 0.55 = 124 ) และ 12.5 v. คือใช้ไฟไป 25% แล้ว
เท่ากับ 31 แอมป์ ( 124 * 0.25 = 31 )
ค่าไฟคิดเป็น วัตต์-Watt .... หาได้โดย แอมป์คูณด้วยโวลท์ของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ
กรณีนี้คือ 31 แอมป์ คูณด้วย 48 โวลท์ = 1,488 วัตต์
ซึ่งเท่ากับไฟประมาณหนึ่งหน่วยครึ่ง 1.488 kW
บ้านเราคิดค่าไฟ 35 หน่วยแรก แปดสิบกว่าบาท
หน่วยต่อๆ ไป ก็สองบาทกว่าๆ
รายละเอียด ตัวเลขแน่นอน ผมจะหามาอีกที
เท่ากับว่าที่ผมขับมาเล่นๆ สามสี่วันนี้ ค่าน้ำมันไม่ถึง 10 บาทครับ
ตีสูญเสียไปเลย ให้ 200 % ก็แล้วกัน
น่าสนใจไหมครับ..อิ อิ อิ อิ
ชุด Controller
และเป็นตัวที่โม'ง่ายที่สุด สำหรับรถไฟฟ้า - เปลี่ยนกล่อง
มันไม่ได้เสียแบบสึกหรอนะครับ แต่เกิดจากการจับคู่กันไม่ถูก
ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่า ความเห็นส่วนฟันธงง่ายๆ เลยครับ
คือ ให้หาข้อมูลก่อนว่าชาวบ้านที่เขาซื้อของกันเอง เขาจับคู่ยังไง
มอเตอร์รุ่นนี้ ใช้กับ Controller ยี่ห้อไหน รุ่นไหน แล้วให้ผลยังไง
ไปลองหาอ่านดูนะครับ ที่ดูง่ายๆ ก็ที่นี่ครับ อ่านเยอะๆ ก็ที่นี่ครับ
ของผมนั้น...ผมให้เขาจัดมาให้เลย
ของฝรั่งสั่งซื้อเองก็ที่นี่
ของจีนที่คนสั่งซื้อเองก็ที่นี่ครับ โดนด่าก็มี คนชมก็มาก
ของคนไทย ผมลงของพี่ท่านหนึ่งไปแล้ว
ถ้ามีอีก ถ้าผมเจอ จะเอามาลงให้อีกครับ
ผมพอบอกได้แค่ว่า แอมป์สูงๆ คือ แรงขึ้น
นิสัยใจคอแต่ละตัว ต้องอ่านเอาอย่างเดียวครับ
ตัวนั้นต่อกับมอเตอร์นี้ แล้วดียังไง
ผมไปของเมืองจีน เลยอ่านผ่านๆ เท่านั้นครับ
ส่วนวิธีการต่อนั้น ไม่ยากไปกว่าการต่อทีวีกับเครื่องเล่น DVD
ยุ่งยากตรงติดตั้ง กับเดินสาย(ถ้ามี) ทำตามคู่มือ
สายไฟมีไม่ถึงสิบเส้นครับ
9/21/2552
มอเตอร์
กำลังที่แท้จริงของมอเตอร์ มันก็มีหน่วยเดียวกันเลยกับเครื่องยนต์
แรง-ไม่แรงนั้น มันอยู่ที่ขนาดมอเตอร์ ไม่ใช่เพราะมันเป็นไฟฟ้า หรือน้ำมัน
เครื่องยนต์น้ำมันนั้น เขาเอาแรงม้าสูงสุดมาเป็นเกณฑ์เรียกมัน
ซึ่งไม่ได้หมายความอะไรทั้งสิ้น รถจำนวนมากไม่เคยขับถึงเกณฑ์แรงม้าสูงสุด
ขับใช้งานธรรมดา เราใช้กันแค่ 30-40% ของแรงม้าที่เครื่องทำได้ครับ
แรงม้าของมอเตอร์นั้นกำหนดเอาจากแรงม้าต่ำสุดที่มอเตอร์ทำได้
รอบของมอเตอร์ขึ้นได้ไวกว่ารอบเครื่องยนต์อย่างไม่มีทางเทียบได้ด้วยครับ
ถ้าคิดกันแบบชาวบ้านนะครับ....เทียบระหว่างมอเตอร์ กับ เครื่องยนต์
ก็เอาแรงม้าของมอเตอร์ คูณ 3 คูณ 4 ประมาณนั้นแหละครับ ดูอันนี้ครับ
ขนาดนี้เอาใส่รถเก๋งขนาด 1,800-2,000cc. สบายเลยครับ
และมีแกนยื่นออกมาอีกด้าน เอาไปปั่นไฟทำระบบแอร์แบบรถธรรมดาได้อีก
ขนาดนี้จดทะเบียนเมืองไทยใช้บนถนนได้เลยนะครับ และอย่าคิดว่า แค่ 80 แรงม้าเอง
เสี้ยววินาทีแรกที่เท้าเราสัมผัสกับคันเร่งนั้น 21 แรงม้ากว่าๆ พร้อมใช้ทันทีนะครับ
ระบบไฮบริดได้ค่าเฉลี่ยใช้น้ำมันที่สวยหรูดูดี เพราะใช้ไฟฟ้าในการออกตัว
แม้แต่ดีเซลที่แรงบิดสูงในรอบต่ำ ก็ยังไม่ใกล้เคียงกับที่ไฟฟ้าทำได้ครับ
จากลิ๊งค์อันเดียวกัน...มอเตอร์ 96v. โม'ให้แรงขึ้นง่ายๆ ด้วยการต่อเข้ากับชุดคอนโทรล+แบต
ของขนาด 120v. ได้นะครับ 48v. ก็ไป 60v. ได้อย่างปลอดภัยในระดับหนึ่ง
ระดับไหน ผมก็ไม่รู้ คงยังไม่ลองในช่วงนี้หรอกครับ....ใครลอง ใครทราบก็บอกด้วยครับ
อันนี้ คือ สุดยอดมอเตอร์ ไม่มีเซอร์วิสตลอดชีพ เราจะเห็นมันในชื่อย่อต่างๆ เช่น
Permanent Magnet Motor(PM) และ Brushless Motor (BL)
บางท่านคงเคยผ่านตาข่าวที่ว่าประเทศอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้า ต่างไม่พอใจจีน
ที่จะจำกัดการส่งออกธาตุหายาก (Rare Earths) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการสร้าง
แม่เหล็กในมอเตอร์นี่แหละครับ คอมพิวเตอร์ รถไฮบริด ขาดตัวนี้ไม่ได้เลยครับ
ธาตุตัวที่ว่านี้ คือ Neodymium วางห่างกันเป็นเมตร มันยังดูดกันจนนิ้วคนที่จับอยู่
ทั้งขาด ทั้งหลุด มีหมดครับ เด็กๆ เอาอมเล่นใส่ปาก เหล็กอีกอันลอยมาติดหนีบแก้มอยู่อย่างนั้น
จีนเขาผลิตได้ 95% ของ world supply โดยเหมืองที่ตั้งอยู่ในมองโกเลีย
งบน้อยก็ใช้มอเตอร์ธรรมดาไปก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนแปรงถ่านเอา เมื่อรู้สึกว่ามันส่งกำลังได้ไม่ดี
ทีนี้ก็มาดูอันนี้ครับ ผมเจอเองกับตัว ตอนซื้อมอเตอร์เล็กๆ มาต่อมอเตอร์ไซค์เล็กๆ ให้ลูกเล่น
มอเตอร์มันมีแบบหมุนซ้าย หมุนขวา ผมก็ไม่รู้ว่าดูยังไง ต่อเสร็จ บิดคันเร่ง รถถอยหลังได้อย่างเดียว
ค้นไป ค้นมา ก็พบว่าแค่สลับสายของมอเตอร์ที่ต่อไปยังแบต เอาบวกไปไว้ลบ เอาลบไปไว้บวก...จบ
ปกติมันจะเป็น แดง(บวก) ดำ(ลบ) <--ท่องไว้เลยนะครับ เครื่องมือเหล็กของผมหลายชิ้น ละลายเพราะจิ้มผิด!!! ขับได้ปกติ มอเตอร์เล็กๆ โหลด! ไม่เยอะ(ไม่รู้เรียกถูกหรือเปล่า) ก็ทำได้ไม่มีปัญหา บางคนต่อเข้ากับสวิทช์สามทาง ทำเป็นเดินหน้า-ถอยหลังไปซะเลย.....ผมก็ทำอย่างนั้น คันนี้ก็เลยทำ...เลยซวย จริงๆ ก็รู้อยู่ว่ามันมีเกียร์ถอยหลังอยู่แล้ว ผมดันต่อระบบนี้เข้าไปด้วย เพราะตอนซื้อกะว่าชุดมอเตอร์นี้จะต้องถอดไปใส่มอเตอร์ไซค์ด้วย เลยสั่งติด Reversing Contactor มาอีกตัวราคาเกือบห้าพันบาท ทนโหลดได้สูงมาก 100 amp. เล่นแบบมอเตอร์หมุนถอย แต่เกียร์เดินหน้า สลับกัน เฟืองรูดมั๊งครับ ตอนนี้เกียร์ถอยฟรี 2 กับ 4 เข้าไม่ได้ ถอยหลัง-ผมเข้า 1 เดินหน้า-คา 3 ตลอด แต่มันก็พอขับได้นะครับ ก็บอกไว้เตือนกันตรงนี้ ต่อมอเตอร์ไซค์ หรือ ATV เจอปัญหานี้ก็สลับสายไฟเอาครับ รถเก๋งมีห้องเกียร์....ก็อย่าแบบผม ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องซื้อ Reversing Contactor ตัวที่อยู่ใต้ กล่อง ECU ของรถผม อยู่ข้างบนมอเตอร์นั่นแหละครับ ดูภาพ
9 ต่อไป....
เรื่องไฟเบรค การทำแผงที่นั่ง การต่อเครื่องชาร์จแบต built-in เลย
ในช่วงไม่กี่วันนี้ ผมจะนำรถไปชั่งน้ำหนัก แล้วจะขับหาระยะทางที่มันวิ่งได้
ข้อมูลจะมา update เรื่อยๆ นะครับ รถวิ่งได้เพลินๆ ออกตัวไม่อืด
แต่แซงอะไรก็ไม่พ้น คาดว่าน่าจะมาจากน้ำหนักตัวรถ+แบต
เหล็กโฟล์คเต่านี่โค-ตรหนาเลยนะครับ กระโดดถีบยังไม่บุบเลย
คาดว่าถ้าน้ำหนักน้อยกว่านี้อีกสักครึ่งนึง และจัดการกับเรื่องแอร์ได้ลงตัว
มอเตอร์พื้นๆ ตัวนี้สามารถนำมาใช้ขับในถนนทั่วไปได้อย่างแน่นอน
เอาความรู้สึกจริงๆ ตอนนี้นะครับ.....คันนี้ใช้ขับแถวละแวกบ้านได้ดีมาก
ถนนใหญ่ไม่เหมาะเลย แต่ผมคงไม่ไปใช้มอเตอร์ที่ใหญ่กว่านี้นะครับ
ผมคิดว่าช่วงราคาที่เกินไปกว่านี้ ผมก็ไม่ไหว ทุกวันนี้ก็เต็มกลั้นแล้วครับ
ท่านที่ไม่มีปัญหาเรื่องงบ ต้องการใช้ระบบที่แรงกว่านี้....
วิธีการดัดแปลงเหมือนกันครับ ยังใช้ประโยชน์จากตรงนี้ได้
งานที่ว่ายากจริงๆ สำหรับการดัดแปลงรถเป็นไฟฟ้านั้น...
อันดับหนึ่ง คือ การตัดสินใจ - ทำดีมั๊ยหว่า! มันจะไปรอดไหม!
ผมใช้เวลาตรงนี้เป็นเดือนๆ ไม่กล้าตัดสินใจจริงๆ
ช่วงนั้นก็หาอ่านเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ แต่อ่านแล้วก็ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
ผมไม่มีแบ็คกราวนด์ด้านเครื่องยนต์-ไฟฟ้าแต่อย่างใดเลย
แต่ก็ทำ...มาถึงตอนนี้ ก็ยังไม่รู้อะไรเพิ่มมากนัก .... แต่ความกลัวหายหมดแล้ว
อันดับสอง คือ เรื่องเงินครับ ...... LPG หรือ NGV คือ ที่สุดแล้วครับ
ไม่มีอะไรถูกกว่านั้น และดีต่อชั้นบรรยากาศเท่าสองตัวนี้แล้ว
ไม่ตัวใด ก็ตัวหนึ่งอยู่ในห้องครัวของบ้านเกือบทุกหลังในโลก
มันต้องรวมปัจจัยด้านอื่นๆ อีกจึงทำให้การใช้ไฟฟ้าถูกกว่า
ผมขอแยกตรงนี้เป็นอีกหัวข้อเลยนะครับ มันละเอียดอ่อน และสำหรับผมแล้ว
มันเป็นเพียงเหตุเดียวที่ทำให้ผมทุ่มตัวกับเรื่องรถไฟฟ้าครับ
อันดับสาม คือ แหล่งซื้ออุปกรณ์ - เมืองไทย กับเมืองนอกมีปัญหากันคนละอย่าง
มอเตอร์ - ไทยมีของเก่าขาย(แต่ผมไม่ทราบแหล่งครับ)มอเตอร์รถยก Fork-lift
หรือมอเตอร์ DC อะไรก็ใช้ได้ทั้งนั้นครับ ของใหม่ก็มี แต่ส่วนมากจะเป็นชุดเล็ก
ไปตามนี้แล้วกันครับ อยู่แถวบ้านหม้อ-คลองถม 1 2 3 ( 4 )<--มีให้อ่านเยอะสุดในไทย
และแบบบ้านๆ แท้ๆ ไทยๆ น่ายกย่องมากครับ.....OK ไม่งั้นก็สั่งนอก
เลือกเอาระหว่างจีน กับฝรั่ง ตามศรัทธา ตามกำลังก็แล้วกันนะครับ
มีอีกที่นึงอยู่คลองถม ของแปลกๆ เยอะ ร้านเฮียอุดม ฝั่งตรงข้าม KFC
แถบห้องน้ำ มีแผงของ Pepsi ตั้งอยู่ตรงข้ามร้าน ของอเมริกาบางยี่ห้อ
รู้สึกว่าสั่ง 3 ตัวขึ้นไปก็จะได้ราคาดีลเลอร์ ก็ลองดูนะครับ
Controller - คิดว่าต้องสั่งนอกนะครับ ของคนไทยก็พอมี ผมเคยเมล์ไปคุย
ผมจะลอกเมล์ พร้อมเบอร์ติดต่อ ลงไว้ให้ในช่วงความคิดเห็นนะครับ
อุปกรณ์อย่างอื่น เมืองไทยมี หรือไม่ก็ดัดแปลงได้ (คันเร่ง-ดูในลิ๊งค์ข้างบน)
ราคาถูกกว่าเป็นเท่าตัวด้วยครับ ไม่ว่าแบต เครื่องชาร์จ ข้อต่อ หัวขั้วต่างๆ ฯลฯ
อันดับสุดท้าย คือ ทักษะการติดตั้ง.... ผมว่าติดตั้งวิทยุชุดใหญ่ยังยากกว่า
เมืองไทยมีตรงนี้เยอะครับ ไม่น่ากลัวเลย แต่น่าคิด คือรถธรรมดาจะหาที่วาง
แบตกันอีท่าไหนได้บ้าง ไม่ยาก แต่ก็ต้องคิดกันพอสมควร
9/20/2552
8.1 ลองวิ่ง(ต่อ)
คันนี้วิ่งใช้ได้นะครับ....ขับละแวกบ้านจะเพลินมากๆ
ระยะทางที่คาดว่าน่าจะวิ่งได้ ผมกะอยู่ที่ 100 กิโลเมตร/ชาร์จครับ
ถึง-ไม่ถึงยังไง จะมาคอยรายงานผลไว้ให้ทราบกันถ้วนหน้าที่นี่ครับ
มาถึงตรงนี้คงพอจะทราบอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับแบตไปพอสมควรแล้วนะครับ
อีกสิ่งหนึ่งซึ่งขาดไม่ได้เลย คือ เครื่องชาร์จแบต ตัวนึงเท่าตู้เย็นเล็กๆ ในโรงแรม
ราคาหมื่นกว่าบาท ที่คู่มือเขาจะเขียนไว้เลยว่าเป็นเครื่องชาร์จสำหรับรถยก Fork-lift
ในแวดวง EV เขาเรียกเครื่องชาร์จแบบนี้ว่า Smart Charger ครับ
มันไม่ได้ชาร์จแค่ให้เต็ม แต่ให้ทุกลูกเต็มเท่าๆ กันอีกด้วย
มิฉะนั้นมันจะ"สึกหรอ"ไม่เท่ากัน ลูกใกล้ๆ ต้องโดนดึงไฟมากกว่าลูกไกล
ถ้ามีโวลท์มิเตอร์นี่จิ้มดูจะรู้เลยครับ แต่ละลูกจะมีพลังงานไฟภายในไม่เท่ากันเลย
ถ้าเราซื้อเครื่องชาร์จธรรมดามาตามจำนวนแบต หรือไล่ชาร์จไปลูกละแปดชั่วโมง ทีละลูก
มันก็แก้ปัญหาไฟไม่เท่ากันได้.....ไม่งั้นลงทุนอีกนิดหน่อยซื้อเครื่องสมาร์ทชาร์จไปเลยดีกว่า
แบบธรรมดา 12v. ราคาพันปลายๆ ผมมี 30v. ธรรมดาซื้อมาที่สามพันนิดๆ
48v. แบบ Smart Charge ราคาหมื่นสองพันบาท ผมว่ามันเป็นสิ่งที่คุ้มมาก กดปุ่ม Equalizing ให้มันทำงานอาทิตย์ละครั้งเท่านั้นเองครับ
นอกเรื่องนิดนึง.....
ถ้ามันยืดระยะเปลี่ยนแบตจากสอง เป็นสามปี ให้กับรถสี่ห้าคันได้ คุณว่ามันคุ้มไหมครับ
แบตตะกั่วธรรมดาๆ ทุกวันนี้ก็ลูกละสองสามพันบาท สองปีเปลี่ยนที
แบตรถที่ผมใช้ก็สภาพไม่ดีนัก แต่ผมชาร์จมันเต็มทุกอาทิตย์
มันถึงหลุม แต่ไม่ยอมตายจะได้ปีนึงแล้วครับ อายุเข้าปีที่สามแล้ว
....แต่วัดค่าโวลท์ก็ยังโอเคอยู่ แบบ 12v. ธรรมดา ผมว่าน่าซื้อติดบ้านนะครับ
สมาร์ทชาร์จราคาหมื่นกว่าบาท ผมไม่คิดมากเลยครับ
โดยเฉพาะรถที่เปลี่ยนแบตทีละสามหมื่นกว่าๆ (ถ้า 12v. ก็สองหมื่นกลางๆ )
.... ถ้ามันยืดอายุแบตออกไปให้ผมได้สักปีเดียว มันก็คุ้มมากแล้วครับ
บวกกับอีกเกือบหมื่นที่เพิ่มไปสำหรับแบต 6 v. เบ็ดเสร็จถ้าได้ใกล้ๆ สี่ปี นี่จะคุ้มมาก
ผมกะจะขับเก็บข้อมูลสักระยะนึง แล้วชุดมอเตอร์ แบตพวกนี้ก็จะย้ายไปอีกคัน
ใหญ่ขึ้น เล็กลง ติดแอร์....อะไรทำนองนี้ครับ เป้าหมายสุดท้ายที่หวังไว้
คือ 200 km. ด้วยไฟฟ้า+แสงอาทิตย์
รถพลังไฟฟ้า ถ้ายึดรูปแบบเดิมๆ ผมว่าไม่มีทาง
เห็นตัวเลขระยะทางที่ระดับโลกอย่าง Voltz ทำได้ด้วยไฟฟ้าเพียวๆ
เกณฑ์ยังอยู่แค่ที่ 40 miles (64 km.)
หลายคนหวังว่าสักวันเทคโนโลยีจะดีขึ้น แบตถูกลง
แต่ผมไม่คิดว่าจะเป็นอย่างนั้นสักนิดเลยนะครับ
ธุรกิจมีทางเดียวที่เดินได้ คือ ต้องทำกำไรให้สูงสุด
รถระบบไฟฟ้า หมายถึงอะไหล่สึกหรอหายไปเป็นพันรายการ
นอกจากทุบหม้อข้าวตัวเอง ความรู้เรื่องเครื่องยนต์ที่สะสมมาจะกลายเป็นศูนย์ทันที
ทว่ารถระบบไฮบริท เครื่องยนต์สองชนิด ทั้งแบบสันดาปภายใน + ไฟฟ้า
คือ รุกคืบ และก้าวกว้างๆ เข้ามาในอุตสาหกรรมพลังงานอีกทางหนึ่งด้วย
การขาย รูปแบบการบริหารจัดการก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเลย
รถพลังไฟฟ้า(ล้วนๆ) ยังเป็นอะไรที่ห่างไกลจากความเป็นไปได้อยู่มาก
มิตซูบิชิ iMiEV วางจำหน่ายในญี่ปุ่นด้วยราคากว่าหนึ่งล้านบาท
โดยรัฐบาลช่วยจ่ายสนับสนุนให้อีกคันละสามสี่แสนบาท
รถที่ว่านี้มีความเป็นไปได้ขนาดไหนในเมืองไทย!!!!
ลำพังราคาแค่สามสี่ล้านบาท มันไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับเศรษฐีเมืองไทย
แต่ถ้าหากเราเล็งไปถึงการลดมลภาวะทั้งทางเสียง และอากาศ ปัญหาการจราจร
ลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ลดการขาดดุลการค้า เพิ่มการจ้างงา่นในระดับท้องถิ่น
เพิ่มทักษะความรู้ให้คนไทยผลิตสินค้าออกไปสู้ ออกไปสู่ตลาดโลก ฯลฯ
....รถแค่ฝูงหนึ่งไม่ทำให้อะไรดีขึ้นได้หรอกครับ
จีนเป็นประเทศที่ประกาศตัวว่าจะเป็นผู้นำรถพลังไฟฟ้าภายใน 3 ปี
แต่หนนี้ไม่มีเสียงหัวเราะคิกๆ คักๆ หลุดออกมาแม้แต่นิดเดียว
เหมือนสี่ห้าปีก่อน เมื่อตอนเห็นรถหัวเป็นเบนซ์ ท้ายเป็นบีเอ็ม
ผู้ผลิตแบตรายใหญ่ที่สุดของโลกในจีน จับมือกับผู้ผลิต
รถยนต์รายใหญ่ต้นๆ ของโลกจากฝั่งเยอรมัน รายย่อมลงมา
ต่างเซ็นสัญญากันเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งสิ้น.....
สามอย่างนี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ มอเตอร์ ครับ
อาจไม่ใช่ในแง่ดีที่สุด แต่ในแง่ของความเป็นไปได้ในทุกๆ ด้านแล้ว
มอเตอร์จากจีนก็มีอะไรในตัวระดับหนึ่งนะครับ
อย่าเพิ่งมองข้ามการดัดแปลงแบบที่ผมทำอยู่นี้นะครับ
ผมคงไม่ได้พูด หรือให้คำแนะนำในฐานะผู้เชี่ยวชาญ.....
แต่ในแบบคนธรรมดาๆ เปลี่ยนยางยังไม่ค่อยเป็นเลย (เคยครั้งเดียว)
ผมว่ามันไม่ยาก ช่างบ้านๆ ที่ทำกับผมก็รู้สึกในทำนองเดียวกัน
เราลองไปดูกันไหมครับ ว่าทั่วโลกเขาทำอะไรกันไปบ้าง แล้วเราจะมาว่ากันว่า
เราพอจะเปลี่ยนงานอดิเรกของพวกฝรั่ง มาเป็นความหวังของชาติเราได้ไหม
ข้องใจตรงไหนก็เขียนมาได้เลยครับ
ถ้าไม่ยากไปนัก ผมก็จะตอบให้ครับ
ไม่มีเม้ม...เพราะไม่ค่อยมีอะไรให้เม้ม
ถ้าสนใจ ... อีกสักระยะมาลองขับได้นะครับ
ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรทั้งสิ้นครับ
ขอเวลาลองทดสอบ และจัดการให้มันลงตัวกว่านี้อีกสักหน่อยครับ
9/18/2552
8 ลองวิ่ง
ไปๆ มา วันนี้ก็ได้วิ่งจนได้ ยังไม่ลงตัวนัก
ผมคิดว่าเกียร์มีปัญหานิดหน่อย
แต่เด็กๆ ก็ชอบ วิ่งเพลินๆ นี่ไม่ใช่รถที่วิ่งบนทางด่วนแน่นอน
แต่ก็ไม่เลวเลย ผมนั่งไม่เต็มที่ด้วย นั่งบนแบตนั่นแหละครับ!!!
เดี๊ยวจะมารายงานผล ต้องกลับบ้านก่อนครับ
..................
..................
.................
เกียร์คงจะรูดจริงๆ ด้วย เกียร์ถอยหลังมันฟรีไปเลย
เดี๊ยวผมขอเป็นหัวข้อหน้านะครับ จะบอกให้ว่าทำไม
ผมคิดว่ามันเป็นสาเหตุเลยละครับ น่าจะมาจากตัวผมเองด้วย
ตอนนี้ขอบรรยายความรู้สึกที่ได้ลองขับให้ฟังกันก่อนนะครับ
ขั้นตอนการขับมีดังนี้ครับ....
...บิดกุญแจ ON (หรือใครจะต่อเป็นสวิทช์กดปุ่มเปิด-ปิดก็ได้)
...เข้าเกียร์ 2 หรือ 3 ก็เกินพอแล้วครับ ของผมเกียร์ 2 เข้าไม่ได้
เลยไปเกียร์ 3
....กดคันเร่ง.....แล้วก็คาอยู่อย่างนั้นได้สบายๆ
ไปไหนมาไหนละแวกบ้านนี่หายห่วง ออกถนนใหญ่ก็พอได้
เกจ์ความเร็วรถมันไม่ทำงาน แต่ให้ประมาณก็คิดว่าไม่เกิน 40-50 Km/h
อย่างไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น รถเคลื่อนที่ไปอย่างเงียบๆ ชิวๆ
มีปัญหาก็เฉพาะแต่กับหมาเท่านั้น.....นี่เป็นครั้งที่สองของผมที่เจอปัญหานี้
หมามันคงไม่คุ้นกับวัตถุเคลื่อนไหวที่ไม่ค่อยมีเสียงแบบรถทั่วไป
ครั้งแรกที่ผมเจอนั้น เวลาประมาณเที่ยงคืนกว่าๆ ระยะทางเกือบกิโลได้
ผมขับรถกอล์ฟไฟฟ้าเพื่อทำการหาค่าระยะทางที่มันวิ่งได้ ผมใช้แบตดำๆ
ลูกกะจิ๋วนึง 12v. 7amp. ใส่กับรถกอล์ฟ มันวิ่งระยะสามสี่กิโล
ไปกลับหน้าปากซอยได้สบายๆ
คืนนั้นผมกะแค่ว่าให้มันปลอดรถซะหน่อย จะลองเหยียบเต็มๆ ดู
ปรากฏว่าหมาที่ตอนกลางวันดูโง่ๆ กลางคืนนี่คนละเรื่อง
ผมขับไปธรรมดา พวกมันเริ่มออกมาเห่า แล้วก็ออกมาเห่ารับกันทั้งซอย
ยิ่งขับ ยิ่งน่ากลัว มันเริ่มมารอหน้าบ้าน แล้วพวกมันก็เริ่มไล่กวด
รถกอล์ฟไม่มีประตู!!!! คิดดูแล้วกันนะครับ หน้า-หลังคุณมีหมาประมาณ 30 ตัว!!!
ใครจะทำอะไรได้นอกจากเหยียบสุดติ่งเลย......
หมาแค่พอวิ่งทัน พวกมันยังไม่สามารถแซงได้ แต่คุณเอ้ยยยย!!!
เสียงหมาเป็นฝูงที่ตามเห่า เขี้ยวขาวๆ ทั้งด้านซ้ายขวา
อยู่ห่างขาผม ในรัศมีไม่เกินเมตร
เป็นเสี้ยวเวลาเพียงไม่กี่วินาทีที่รู้สึกว่ายาวนานมาก
แต่ผมก็ผ่านมาได้จนถึงหน้าปากซอย อาจเพราะนิสัยหมาด้วย
พอไม่มีอะไรให้ไล่ มันก็หันมากัดกันเอง......แวะไปซื้อน้ำมาดื่มสักหน่อย
เชื่อไหมเหงื่อเย็นๆ เต็มหลังผมเลย
นั่งพักสักครู่...จับเอาโวลท์มิเตอร์มาเสียบวัด....ชริบหาย ชริบหาย ชริบหาย
มันมีบางอย่างที่ค่อนข้างจะ technical อ่านไม่ค่อยเข้าใจ (Peukert Effect)
แต่ตอนนี้มันกระจ่างเลย ไว้ผมจะเขียนให้อ่านในหัวข้อแบตเตอรี่นะครับ
มาต่อที่เหตุการณ์คืนนั้นกันนะครับ....แบตเลยระยะเซฟตี้โซนแล้ว
รถกอล์ฟไม่ใช่ของผม หมาพวกนั้น ตีหนึ่งนิดๆ มีตังค์ติดตัวไม่ถึงยี่สิบ
.......คงไม่ต้องเล่าว่าทำยังไง........
พอกลับถึงบ้านก็เข้านอน พรุ่งนี้คงต้องไปหาซื้อแบตใหม่!!!!
(แบตพวกนั้นก็ยังพอใช้ได้ครับ แต่โค-ตรรั่ว ผมเอามาต่อกับมอ'ไซเล็กๆ ให้ลูกเล่นครับ)
9/17/2552
พัก - ฝนมาแต่เช้าเลย
ว่าจะรีบลุยต่อ ปรากฏว่าฝนเทมาโครมๆๆ เลย
ไม่เป็นไร....ผมมาเขียนเรื่องแบตเตอรี่ก็ได้
อย่างที่ผมได้บอกไว้แล้วนะครับ....แบตตะกั่วธรรมดาๆ
นี่แหละครับที่เราพอจะมีปัญญาจ่ายไหว
ใครจะเอาแบตลิเธียม หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มีขั้วบวกลบ
มาต่อใช้กับรถไฟฟ้าก็ได้ทั้งนั้นนะครับ เอามาต่อ
กันในแบบอนุกรม ( Series ) บวกไปลบของอีกก้อน
ลบก็ไปบวกของอีกก้อน ต่อแบบนี้แบต 6v. แปดลูกก็ใช้ขับ
มอเตอร์ 48v. ได้ เอาถ่านไฟฉาย AA 1.5v. มาต่อกัน
สามสิบสองก้อนก็ขับมอเตอร์ลูกนี้ได้เช่นกัน....แต่ แต่ แต่
มอเตอร์จะวิ่งได้กระจึ๋งนึง เพราะถ่านไฟฉายมันมีประจุนิ๊ดดดเดียว
แบตที่ใช้มีประจุ 225 แอมป์ -???โดยวัดกันที่ 20 ชั่วโมง????(หุ หุ...ตอนหน้า)
ถ้าอยากให้รถไฟฟ้าคันนี้วิ่งโดยใช้ถ่านไฟฉาย หรือแบตมือถือ แบตโน๊ตบุ๊ค ฯลฯ
เอาตรงโวลท์ให้ผ่านก่อน....ซึ่งก็ผ่านแล้ว 1.5 x 32 ได้ 48
มาจัดการตรงแอมป์บ้าง......ถ่านไฟฉาย AA มีประจุ 2.4 แอมป์
ร้อยก้อนได้ 240 แอมป์ ถ้าเอา 225 แอมป์ ก็ต้องร้อยก้อนอยู่ดีครับ
เผื่อสูญเสียด้วย และคิดกันง่ายๆ วิธีต่อเพิ่มแอมป์ คือ
บวกไปบวกอีกก้อน ลบก็ไปลบของอีกก้อน
เขาเรียกว่าต่อแบบขนาน (Pararelle)
1.5v. ที่มี 225 แอมป์ = ถ่านไฟฉาย 100 ก้อน
(คูณ4) 1.5 x 4 = 100 x 4
แบต 6v. 225 Amp = ถ่านไฟฉาย 400 ก้อน
ใช้แบต 8 ลูก = ถ่านไฟฉาย AA 3,200 ก้อน
แบตจำพวกลิเธียม นิคเกิ้ล_แคดเมียม พวกนี้มีน้ำหนักเบา
และปล่อยพลังได้ลึกกว่า 80% ของ Deep cycle
คงพอเห็นภาพนะครับ แต่เหมาะสมแค่ไหน
ก็คงแล้วแต่บุคคล ตามกำลัง ตามฐานะ
.....หรือว่า ลูกบ้า!!!
ขอค้างเรื่อง c 20 - Capacity at 20 hr. ไว้ตอนหน้านะครับ
มันเป็นตัวเลขที่บอกถึงการทำงานของแบตลูกนั้นๆ ครับ
รู้ไว้เพื่อไม่งงครับ เผื่อไปหาอะไรอ่านที่เว็บเมืองนอก
จะเจอบ่อยๆ ในหลายกระทู้เลยครับ
9/14/2552
7 ขั้นตอนที่ 2
ทีนี้เราก็มาถึงตอนไคลแมกซ์สำหรับรถไฟฟ้าแล้วนะครับ นั้นคือ การต่อระบบไฟฟ้า
มีปัญหาเกิดขึ้นเล็กน้อย คันเร่งไฟฟ้ามาเป็นกล่อง แป้นเหยียบเบรคต้องไปหมดเลย
เดี๊ยวค่อยเชื่อมกลับเข้าไปใหม่
สำหรับเรื่องการเดินสายต่อเชื่อมแบต เดินสายชุด controller
แต่ไม่นานนัก ช่างเอกก็จับต่อเองได้หมดเลย
6 ขั้นแรก
ถอดเครื่องออก ...... ขายแดร๋ก
เอามอเตอร์เสียบเข้าเกียร์.....จบ(จริงๆ )
ผมทำเองไม่เป็น เลยเรียกช่างแถวบ้านมาทำให้หมดเลย
ถอดเครื่อง + ยางหลังไปปะ --> ไม่กี่ร้อย
แผ่นเหล็กปิดห้องเกียร์ และประคองมอเตอร์ + มอ'ไซค์รับจ้าง(ส่ง-รอรับกลับ) --> 800
พี่นะ...ช่างกลึง --> 2,500 วัด-ตัด-กลึง-กัดลาย-ทำแกนเชื่อม-ติดตั้งมอเตอร์
เอก...ไก่ชน อยู่ตอนหน้า-จะเดินไฟ ปกติทำแอร์รถยนต์
เฮียแป๊ะ + แก่น ... ช่างทั่วไป ไล่ระบบเบรค ทำแร็ค เช็คช่วงล่าง ฯลฯ
ถึงนี่ก็ 60 % แล้ว.... จริงๆ นะครับ
ตอนหน้า .... เดินไฟ ต่อแบต ติดกล่องคอนโทรล .... ก็จะไม่อะไรไปไกลจากนี้
รถไฟฟ้ามันมีแค่นี้จริงๆ มันยากตอนจัดระบบ ตอนจะซื้อของ
เราขาดข้อมูล ไม่มีที่ไหนให้ปรึกษา หาข้อมูลได้ แต่คนไทย+ช่างบ้านๆ ทำได้สบายมาก
ถ้าจะกังวล ไปกังวลเรื่องแอร์ดีกว่า
หากรู้ว่าต้องซื้ออะไร ใช้ไซส์ไหน ... นั่น 50 % แล้วครับ
อีก 10% ก็ไม่กี่พันบาท ถ้าจ้างเขาทำแบบที่ผมทำ
ถ้าทำเองได้ ค่าอะไหล่(เศษเหล็กทั้งนั้น)ไม่กี่ร้อยหรอกครับ
ไปเสียค่ากลึงอีกไม่กี่ร้อยเช่นกัน
ดูเอาเองแล้วกันนะครับ
5 ฯลฯ
พลัง-น้ำมันที่รถไฟฟ้ามี มันคิดอย่างนี้ครับ
เอาแรงดันโวลท์ของมอเตอร์ ( ของผม 48v.)
คูณด้วยแอมป์ของแบต
(แต่ใช้หมดเลยไม่ได้-เข้าใจตรงนั้นแล้วใช่ไหมครับ) ผลลัพธ์ คือ วัตต์ ....
แต่คนไม่ได้เรียนมา ก็งงตายฮ่า ... เอางี้แล้วกัน คุณหายใจเข้าไปให้เต็มปอด
(ต้องท้องป่อง ไม่ใช่อกผายนะครับ) มันต้องค่อยๆ หายใจเข้าไป
นั่นคือ วัตต์=>พลังที่คุณ(รถ)มี แบต Deep ก็ต้องค่อยๆ ชาร์จเหมือนกัน
ที่นี้ก็เป่าลมออกจากปาก อยากเป่าได้นานๆ ก็เป่าแรงพอสมควรแต่แบบไม่โหม
แล้วให้รูปากเล็กๆ ถูกไหมครับ เป่าๆ หยุดๆ ไม่ได้นานอย่างที่คิดแน่นอน
แรงเป่า คือ แรงดันไฟ(โวลท์) รูปากก็จะคล้ายกับแอมป์
ถ้าแรงดันสูง แล้วเป่าผ่านหลอด หรือปากเล็กๆ เราจะเป่าได้นาน และก็แน่นด้วย
ลองดูซิครับ ในรถไฟฟ้าก็เช่นกัน
มอเตอร์แรงดันสูง ก็จะดึงประจุไฟ(แอมป์)ออกจากแบตน้อยกว่ามอเตอร์ที่แรงดันต่ำกว่า
มอเตอร์ 96v.กับแบต 100 amp มีประสิทธิภาพโดยรวมดีกว่า 48v. กับ 200 amp นะครับ
แต่ให้ฟันธงชัดเป๊ะๆ ไปเลยว่าวิ่งได้ระยะทางไกลกว่า อะไรอย่างนั้นไม่ได้
เพราะมันวิ่งได้เร็วกว่าด้วย ครั้นจะให้ 48v. เอาให้ทัน 96v.
ประจุในแบตก็จะฮวบๆๆๆ ลงเร็วมากๆ มากกว่าสองเท่าที่มีอยู่ในแบตอย่างแน่นอน
ใช้เด็กยกของหนัก เด็กก็ต้องเหนื่อยเหงื่อแตกพลั่กกว่าผู้ใหญ่ยกของชิ้นเดียวกัน ถูกไหมครับ!
ในน้ำมันจะเห็นไม่ชัด เพราะเราชินกับการทำงานของเครื่องยนต์
ที่มีการสูญเปล่าถึง 80 % การที่มันจะกินเพิ่มอีกถึงหนึ่งในสาม ในสี่ ของยี่สิบเปอร์เซนต์ที่เหลือ เราก็ไม่รู้สึกอะไร แถมเติมเต็มร้อยใหม่ ก็ใช้เวลาแค่ห้านาที
แต่ในแบตเตอรี่พลังงานมันไม่สะดวกเท่าน้ำมัน ชาร์จทีเป็นชั่วโมง
แต่เรามั่นใจได้ว่า พลังงานถูกใช้ไปอย่างคุ้มค่ากว่า
มอเตอร์บางตัวมีค่าพลังงานสูญเสียไม่ถึง 10% นะครับ
เหมือนร้านขายของ กับธนาคารประมาณนั้นเลยครับ
ลูกมาหยิบไปยี่สิบ สี่สิบ แม่ไม่รู้ด้วยซ้ำ แต่ถ้าเป็นที่ธนาคาร
มันจะต้องลากยาวถึงสองทุ่ม สามทุ่ม มันก็ต้องทำ ควักจ่ายเองก็ได้ แต่ไม่ง่ายครับ......วุ่นวายเหมือนกันครับ เรื่องรถไฟฟ้า ใจต้องมาก่อน ถ้าเอาสะดวก เอาถูกเป็นเกณฑ์ ไม่มีอะไรชนะ LPG หรือ NGV หรอกครับ ผมคงไม่ต่อรายละเอียดในที่นี้ (ในที่อื่นมีนะครับ) แต่แค่อยากบอกคุณว่า อย่าได้เชื่อคำพ่อค้าเด็ดขาดว่าวิ่งที่ความเร็ว xx บรรทุก yy ได้ zz กิโลเมตร มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า กับรถกอล์ฟไฟฟ้า แบตบึ๊มส์พังคามือผมไปพอสมควรแล้วครับ ค่าแบตเกือบหมื่นแล้ว ผมซื้อลูกเล็กๆ สีดำๆ มาลอง ต้องให้ผู้ใช้งานจริงมาแบ่งปันข้อมูลกันเท่านั้นครับ คนต่อๆ ไปถึงจะได้ใช้กันสบายใจขึ้น ตัวเลขหรูๆ ที่ทำไม่ได้จริง มีแต่ทำให้คนระอารถไฟฟ้าหนักขึ้นไปอีก คันของผมอาจจะติด GPS เอาไว้เลย เพื่อเก็บข้อมูลการวิ่งไว้เอามาดูกัน แต่อย่าเพิ่งไปรังเกียจรถไฟฟ้านะครับ รถยนต์แห่งชาติ(ถ้า)เราจะมีได้ ก็ต้องเป็นรถพลังไฟฟ้านี่แหละ อากาศของพวกเราจะดีได้ ก็ต้องพวกเรามาแปลงรถไปเป็นไฟฟ้ากัน ตรงนี้ก็ฝากกันไว้สองอย่างนะครับ อย่างแรก คือ ซื้อมอเตอร์ให้สูงสุดเท่าที่จะซื้อได้ มอเตอไซค์ก็ซื้อ36 หรือ 48v. เอาผู้ใหญ่มาแบกเราดีกว่า อย่างสอง คือ อย่าเพิ่งถอดใจ มันเป็นไปได้ครับ ยุโรปมีสตูดิโอทำรถยนต์ไฟฟ้าเล็กๆ เป็นสิบๆ ยี่ห้อ หาความรู้มาแชร์กัน ที่นี่ไม่มีขายอะไหล่อะไรทั้งนั้นครับ ผมคงจะเขียนหนังสือเรื่องรถไฟฟ้าขายเด็กๆ เล่มละ 10 บาท แค่นั้นแหละครับ